ย้อนกลับ

เช็คสุขภาพ 4 จุด ให้ “วัยเก๋า” เพิ่มพลังความสุขชีวิต

โดย Oactive เมื่อ

 

            ความสุขกับการทานอาหารเริ่มลดลง ปัญหาสำคัญของผู้สูงวัย จากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเข้าสู่วัยชรา ที่มักจะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะปัญหาภายในช่องปาก ซึ่งการทานอาหารที่ลดลง จะมีผลต่อการรับสารอาหารเข้าร่างกายอย่างมาก

1.สุขภาพช่องปาก          

            เมื่ออายุมากขึ้นหลายท่านประสบปัญหาสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นแผลและมะเร็งช่องปาก ฟันสึก ภาวะน้ำลายแห้ง ส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารภายในปาก ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาทานอาหาร

            ทั้งนี้ชาววัยเก๋าสามารถจัดเตรียมอาหารที่รับประทานง่าย เคี้ยวง่าย เช่น แกงจืด ซุป โจ๊ก ข้าวต้ม และควรตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด

2.การรับรสบนลิ้น 

            ชาววัยเก๋าอาจกำลังเจอปัญหา ความสามารถการรับรสบนลิ้น ในการแยกแยะ รสชาติ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม รวมถึงการรับกลิ่น ที่เสื่อมถอย  ซึ่งทำให้การทานอาหารแต่ละครั้งจะรู้สึกว่าไม่อร่อย ทำให้ไม่อยากอาหาร และทานอาหารได้น้อยลง

            ทั้งนี้ชาววัยเก๋า ที่ทำอาหารเองที่บ้าน สามารถปรับรสชาติอาหารให้พอดีกับความชอบของตัวเอง ซึ่งการปรุงอาหารที่มีรสเค็ม หรือรสเปรี้ยวอ่อน ๆ จะช่วยกระตุ้นการขับน้ำย่อย และน้ำลาย ทำให้เกิดความรู้สึกเจริญอาหารมากขึ้น หรือจะคิดเมนูอาหารใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารเพิ่มขึ้นด้วย

3. ปัญหาการย่อย - การดูดซึม

            เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กจะมีน้อยลง ทำให้อาหารถูกย่อยได้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงกล้ามเนื้อควบคุมการบีบคลายตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานไม่ปกติ ทำให้ย่อยอาหารได้ยาก เมื่ออาหารถูกย่อยได้ไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดการสะสมแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และปล่อยก๊าซออกมาทำให้ท้องอืด หรือท้องผูก

            ดังนั้นชาววัยเก๋า จึงควรทานอาหารที่อ่อนนุ่มหรือปรุงให้นิ่ม กินอาหารขณะที่ยังร้อน ๆ จะช่วยกระตุ้นน้ำย่อยอาหาร ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นและการย่อยอาหารดีขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ โดยทานในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 5 มื้อ เพื่อเพื่อช่วยให้การย่อยอาหารสะดวกมากขึ้น

4. สุขภาพจิต

            ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ อาจทำให้ชาววัยเก๋า เกิดความรู้สึกเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวล ซึ่งความเครียดจะมีผลต่อสุขภาพจิต ทำให้ทั้งนี้ชาววัยเก๋ารู้สึกหม่นหมอง ไม่สบายใจ

            ดังนั้นชาววัยเก๋า ควรหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น การเล่นเกม, การพบปะพูดคุยกับเพื่อนชาววันเก๋า, การทำอาหาร, ปลูกต้นไม้ พืชสวนครัว เพื่อปรับสมดุลความรู้สึก แม้ว่าร่างกายจะเปลี่ยนแปลง แต่จิตใจยังแข็งแรง เป็นชาววัยเก๋าที่ทรงคุณค่า มีกิจกรรมทำทั้งวันไม่มีเบื่อ