ย้อนกลับ

ราวกันลื่นในห้องน้ำ ติดตั้งแบบไหนดี

โดย Oactive เมื่อ

 

             ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกําลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีสมาชิกวัยเกษียณอยู่บ้านมากขึ้น แน่นอนว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อํานวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะกับผู้สูงวัย โดยเฉพาะในห้องน้ำที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และพระเอกที่จะเข้ามาช่วยในสถานการณ์แบบนี้ก็คือ “ราวกันลื่น”

             อีกหนึ่งส่วนที่ต้องพิจารณาคือการ เลือกราวจับ หรือ ราวกันลื่น เพราะนอกจากจะมาติดตั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ช่วยพยุงตัวและป้องกันอันตรายแล้ว ยังเป็นการเสริมกําลังใจให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่ายังแข็งแรง สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ

 

ราวจับทรงตัว กันลื่นแบบต่าง ๆ

●          ราวทรงตัวแบบเส้นตรงธรรมดา ความยาวมีหลายขนาดให้เลือก 35 cm, 60 cm, 90 cm, 120 cm

●          ราวทรงตัวรูปตัว L

●          ราวทรงตัวรูปตัว V

●          ราวพยุงตัวพร้อมราวแขวนฝักบัวปรับระดับ

●          ราวทรงตัวแบบสวิง สำหรับติดตั้งข้างโถสุขภัณฑ์

●          ราวทรงตัวสำหรับอ่างล้างหน้า

●          ราวทรงตัวสำหรับอ่างล้างหน้า (ผู้ใช้ไม้เท้าค้ำยัน)

●          ราวทรงตัวรูปตัว T

●          ราวทรงตัวสำหรับโถปัสสาวะชาย

 

ราวกันลื่นในห้องน้ำ ควรติดตั้งแบบไหนบ้าง?

 

 

ติดตั้งราวกันลื่นในบริเวณข้างชักโครก

●          ชักโครกควรสูงจากพื้น 35-40 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้สูงอายุสามารถลุกนั่งได้สะดวก และเลือกชักโครกที่มีที่กดน้ำแบบเป็นคันโยก เพราะจะช่วยลดการใช้แรงในการกดน้ำได้ ส่วนการติดตั้งราวจับพยุงตัวสำหรับลุกนั่งที่ด้านข้างชักโครก สามารถติดตั้งฝั่งเดียวหรือ 2 ฝั่งก็ได้ โดยระยะติดตั้งควรสูงจากพื้นประมาณ 58-70 เซนติเมตร สุดท้ายในส่วนของสายฉีดชำระควรติดตั้งไว้ด้านข้างให้สามารถเอื้อมหยิบใช้ได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องเอี้ยวตัวไปหยิบด้านหลัง

●          อ่างล้างหน้าควรเลือกใช้แบบที่มีเหลี่ยมมุม แต่มีความโค้งมน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถช่วยลดความร้ายแรงลงได้ ควรสูงจากพื้น 70-80 เซนติเมตร เพื่อเว้นพื้นที่ให้สามารถสอดรถเข็นเข้าไปได้สะดวก และติดตั้งราวทรงตัวใกล้อ่างล้างหน้า เพื่อช่วยพยุงตัวหรือทรงตัวในการเปลี่ยนอิริยาบถ สุดท้ายก๊อกน้ำควรเป็นแบบที่มีคันโยกในการเปิด-ปิด เพื่อลดการใช้แรงได้


ติดตั้งราวกันลื่นในบริเวณส่วนอาบน้ำ

●          ฝักบัวอาบน้ำควรปรับตำแหน่งให้เลื่อนขึ้น-ลงได้ เพื่อรองรับการใช้งานของทุกคนในบ้านได้ อาจเลือกติดตั้งราวพยุงตัวที่มีราวแขวนฝักบัวปรับระดับได้ในตัวเลยก็ได้ สามารถใช้งานได้ 2 อิน 1 ไปเลย หรือหากบ้านไหนมีที่แขวนฝักบัวปรับระดับอยู่แล้ว ก็ควรมีราวพยุงตัวในแนวดิ่งที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตรมาติดตั้ง เพื่อให้ในการพยุงตัวหรือเกาะยึดเวลาที่เสียการทรงตัว โดยติดตั้งราวพยุงตัวให้สูงจากพื้นประมาณ 60-85 เซนติเมตร

●          เก้าอี้นั่งอาบน้ำเป็นสิ่งจำนวนเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถยืนนานได้ โดยเก้าอี้ควรสูงประมาณ 45-50 เซนติเมตร และต้องให้แน่ใจว่าขาเก้าอี้มียางกันลื่นติดที่ปลายขา เพื่อไม่ให้เก้าอี้ลื่นไถลได้

 

วิธีการติดตั้งราวกันลื่นแบบทำได้ด้วยตัวเอง

●          ใช้ดินสอหรือปากกาทำเครื่องหมายที่เราจะติดตั้งราวจับหรือราวทรงตัวในห้องน้ำ โดยระยะติดตั้งมาตรฐานที่แนะนำ ควรสูงจากพื้น 60-85 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน

●          ใช้ดินสอทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะเจาะรูให้ครบทุกจุด แล้วใช้สว่านเจาะรูตามเครื่องหมายที่ได้ทำไว้

●          ใช้ดอกสว่าน ขนาด 8 มิลลิเมตร หรือดูขนาดดอกสว่านได้จากชุดสกรูว์และพุกที่มีมาให้พร้อมกับราวจับ โดยเจาะไปที่ผนังให้ลึกประมาณ 2.5 เซนติเมตร

●          นำพุกที่ให้มาใส่ไปในรูที่เจาะไว้ แล้วใช้ค้อนค่อยๆตอกพุกเข้าไป จนแน่ใจแล้วว่าปลายพุกขยายตัวแล้ว

●          ขันสกรูว์ยึดชิ้นงานกับพุก แล้วครอบฝาครอบปิดให้สนิทเพื่อความสวยงาม

●          ทดลองใช้งาน เพื่อยืนยันว่าราวจับหรือราวกันลื่นยึดติดกับผนังแข็งแรงดีแล้ว หากยังไม่มั่นคงแน่นหนา ให้ขันสกรูว์ย้ำอีกครั้ง เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ

 

             ข้อสำคัญที่ควรระวังตอนติดตั้งราวกันลื่นก็คือ ควรเลือกตำแหน่งติดตั้งและรูปแบบของราวจับให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น บริเวณโถสุขภัณฑ์อาจติดตั้งเป็นราวทรงตัวแบบค้ำยัน ส่วนบนผนังควรติดตั้งราวจับเป็นระยะ และใช้ราวจับแบบเข้ามุมบริเวณมุมห้อง โดยติดตั้งสูงจากพื้น 60-85 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของผู้ใช้ ทั้งนี้สีของราวจับควรดูแตกต่างจากสีของกระเบื้องผนังอย่างชัดเจน