ย้อนกลับ

จัดพอร์ตลงทุนอย่างไร ถูกใจวัยเก๋า

โดย Kritsachin เมื่อ

จัดพอร์ตลงทุนอย่างไร ถูกใจวัยเก๋า

สำหรับใครที่ออมเงินจนบรรลุเป้าหมายในวัยเกษียณที่ต้องการแล้ว และอยากบริหารเงินออมก้อนนี้ให้งอกเงยด้วยการลงทุน ควรคำนึงไว้เสมอว่าวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนหลังเกษียณคือเพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเงินเฟ้อ ในขณะที่บางคนก็ต้องการสร้างเงินมรดกทิ้งไว้ให้ลูกหลานด้วย

เริ่มง่ายๆ จากการจดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่ายในช่วง 2-3 เดือนแรกที่เกษียณว่า เรามีไลฟสไตล์อย่างไร มีค่ากินอยู่เท่าไหร่ ต้องการทำกิจกรรมใดที่ต้องใช้เงินเพิ่มหรือไม่ จากนั้นค่อยประมาณการค่าใช้จ่ายเป็นรายปี ก็จะเห็นยอดรวมคร่าวๆว่า ในแต่ละปีต้องทยอยถอนเงินออมออกมาใช้เท่าไหร่เพียงเท่านี้ เราก็จะรู้ว่ามีเงินออมส่วนที่พร้อมนำไปวางแผนลงทุนต่อยอดเป็นจำนวนเท่าไร

ควรมีการจัดสรรเงินลงทุนสำหรับเป้าหมายต่างๆ ในส่วนที่เป็นสภาพคล่อง เพื่อใช้จ่ายดำรงชีวิตเช่น ค่าอาหาร ค่ายา ค่าไฟค่าน้ำและเป็นค่าดูแลสุขภาพ ซึ่งควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ที่สามารถถอนได้ทันทีเมื่อจำเป็นต้องใช้ เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น และ ส่วนที่เป็นเงินลงทุนเพื่อใช้จ่ายตามไลฟสไตล์ ส่วนที่ไว้สร้างความมั่นคงให้ลูกหลาน และอุทิศเพื่ สังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่หากไม่บรรลุผล ก็ไม่ได้ กระทบกับการดำเนินชีวิตมากนัก จึงสามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ เช่น ตราสารหนี้ หุ้นสามัญ เป็นต้น

 

ในจัดพอร์ตลงทุนต้องคำนึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น ต้องการคุ้มครองเงินลงทุน ต้องการสร้างรายได้ประจำ หรือต้องการเพิ่มค่าเงินลงทุน เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ พอร์ตนี้ต้องสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่เรารับ 

 

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พอร์ตความเสี่ยงต่ำ สำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่่ำ ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง สัดส่วนการลงทุนเน้นไปที่เงินฝากธนาคาร 45%, ตราสารหนี้ 45% และหุ้นเพียง 10%

พอร์ตแบบปานกลาง สำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งและอยากจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจึงเน้นไปลงทุนกับตราสารหนี้และหุ้นเพิ่มมากขึ้น

พอร์ตความเสี่ยงสูง สำหรับคนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอและเพิ่มมูลค่าเงินในระยะยาวโดยการลงสัดส่วนของเงินฝากและนำไปลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น

แต่ไม่ว่าจะเลือกจัดพอร์ตลงทุนแบบไหน ต้องไม่ลืมแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เป็น สภาพคล่องเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำของครอบครัวอยู่เสมอ ซึ่งควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงในรูปแบบของเงินฝากออมทรัพย์หรือกองทุนรวมตลาดเงินเพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาก็สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้เลย